งบการเงินและรายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บริษัท เชียงใหม่ธุรกิจการแพทย์ จำกัด (มหาชน) 31 ธันวาคม 2543 และ 2542 รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เสนอ ผู้ถือหุ้นบริษัท เชียงใหม่ธุรกิจการแพทย์ จำกัด (มหาชน) ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยน แปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น งบขาดทุนสะสม และงบกระแสเงินสด สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท เชียงใหม่ธุรกิจการแพทย์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งผู้บริหารของกิจการเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องและครบถ้วนของ ข้อมูลในงบการเงินเหล่านี้ ส่วนข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่อ งบการเงินดังกล่าวจากผลการ ตรวจสอบของข้าพเจ้า งบการเงินของบริษัทดังกล่าว สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2542 ตรวจสอบโดยผู้ ตรวจสอบบัญชีอื่นจากสำนักงานเดียวกันโดยแสดงความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไข ตามรายงานลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2543 ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งกำหนดให้ ข้าพเจ้าต้องวางแผนและปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลว่างบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จ จริงอันเป็นสาระสำคัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการทดสอบหลักฐานประกอบรายการ ทั้งที่เป็น จำนวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน การประเมินความเหมาะสมของหลักการบัญชีที่กิจการใช้ และ ประมาณการเกี่ยวกับรายการทางการเงินที่เป็นสาระสำคัญซึ่งผู้บริหารเป็นผู้จัดทำขึ้น ตลอดจนการประเมินถึง ความเหมาะสมของการแสดงรายการที่นำเสนอในงบการเงินโดยรวม ข้าพเจ้าเชื่อว่าการตรวจสอบดังกล่าวให้ข้อ สรุปที่เป็นเกณฑ์อย่างเหมาะสมในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นว่างบการเงินข้างต้นนี้แสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 ผลการ ดำเนินงาน และกระแสเงินสด สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท เชียงใหม่ธุรกิจการ แพทย์ จำกัด (มหาชน) โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ตามที่ได้กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินที่ 4 ในปี 2542 บริษัทได้เปลี่ยนแปลง นโยบายการบัญชีเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี จากเดิมที่บันทึกเป็นสินทรัพย์อื่นมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย (นางสาวนิตยา เชษฐโชติรส) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 4439 บริษัท เคพีเอ็มจี ออดิท (ประเทศไทย) จำกัด กรุงเทพฯ 6 กุมภาพันธ์ 2544 บริษัท เชียงใหม่ธุรกิจการแพทย์ จำกัด (มหาชน) งบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 และ 2542 2543 2542 สินทรัพย์ บาท บาท สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและเงินฝากธนาคาร (หมายเหตุ 3 และ 5) 1,795,735.38 3,252,615.19 เงินลงทุนระยะสั้น - เงินฝากประจำ (หมายเหตุ 3 5 และ 13) 1,638,588.72 1,481,021.79 ลูกหนี้การค้า - สุทธิ (หมายเหตุ 3 และ 6) 5,936,891.22 5,560,087.15 เวชภัณฑ์คงเหลือ (หมายเหตุ 3) 3,918,961.87 4,508,100.77 วัสดุสิ้นเปลืองคงเหลือ (หมายเหตุ 3) 2,855,560.39 3,224,414.12 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น ดอกเบี้ยค้างรับ 16,298.69 24,641.59 ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า 342,955.35 574,938.66 ภาษีเงินได้รอเรียกคืน 1,810,250.54 1,441,110.20 ลูกหนี้อื่น 378,690.00 451,983.00 อื่นๆ 602,035.48 435,177.02 รวมสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 3,150,230.06 2,927,850.47 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 19,295,967.64 20,954,089.49 เงินลงทุน (หมายเหตุ 3) บริษัทในเครือและกิจการที่เกี่ยวข้องกัน - สุทธิ (หมายเหตุ 3 และ 8) 25,000,000.00 25,000,000.00 บัตรเงินฝาก (หมายเหตุ 9) 10,754,836.16 10,754,836.16 อื่นๆ 10,600.00 10,600.00 รวมเงินลงทุน 35,765,436.16 35,765,436.16 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ - สุทธิ (หมายเหตุ 3 10 12 และ 13) 259,045,402.57 272,023,448.91 สินทรัพย์อื่น 254,968.00 268,968.00 รวมสินทรัพย์ 314,361,774.37 329,011,942.56 ดูหมายเหตุประกอบงบการเงิน บริษัท เชียงใหม่ธุรกิจการแพทย์ จำกัด (มหาชน) งบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 และ 2542 2543 2542 หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น บาท บาท หนี้สินหมุนเวียน เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน (หมายเหตุ 13) 13,315,417.86 3,556,343.86 เจ้าหนี้การค้า 9,816,521.14 12,130,270.44 เจ้าหนี้ค่าอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ 9,385,218.69 5,111,118.30 ส่วนของเงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี (หมายเหตุ 11 และ 13) 42,010,934.79 13,488,876.71 หนี้สินหมุนเวียนอื่น ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 4,102,170.79 5,096,687.99 เจ้าหนี้อื่น 1,394,835.59 1,574,739.95 อื่นๆ 1,220,116.85 1,074,569.96 รวมหนี้สินหมุนเวียนอื่น 6,717,123.23 7,745,997.90 รวมหนี้สินหมุนเวียน 81,245,215.71 42,032,607.21 เงินกู้ยืมระยะยาว (หมายเหตุ 11 และ 13) 54,181,356.15 93,947,956.20 รวมหนี้สิน 135,426,571.86 135,980,563.41 ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรือนหุ้น ทุนจดทะเบียน 12,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท 120,000,000.00 120,000,000.00 ทุนที่ออก 12,000,000 หุ้น ชำระเต็มมูลค่าแล้ว 120,000,000.00 120,000,000.00 ส่วนเกินทุน ส่วนเกินมูลค่าหุ้น 130,000,000.00 130,000,000.00 กำไรสะสมจัดสรรเป็น - สำรองตามกฏหมาย 7,591,000.00 7,591,000.00 - สำรองอื่น 2,000,000.00 2,000,000.00 ขาดทุนสะสม (80,655,797.49) (66,559,620.85) รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 178,935,202.51 193,031,379.15 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 314,361,774.37 329,011,942.56 ดูหมายเหตุประกอบงบการเงิน บริษัท เชียงใหม่ธุรกิจการแพทย์ จำกัด (มหาชน) งบกำไรขาดทุน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2543 และ 2542 2543 2542 บาท บาท รายได้ (หมายเหตุ 3) รายได้ค่ารักษาพยาบาล 163,487,448.95 167,426,537.25 ดอกเบี้ยรับ (หมายเหตุ 7) 452,774.28 4,022,606.03 กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน - 331,843.25 รายได้อื่น 1,030,107.96 788,139.77 รวมรายได้ 164,970,331.19 172,569,126.30 ค่าใช้จ่าย (หมายเหตุ 3) ต้นทุนค่ารักษาพยาบาล (หมายเหตุ 14) 133,416,610.95 140,253,902.16 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร (หมายเหตุ 14) 36,284,551.49 41,516,925.38 ขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ (หมายเหตุ 8) - 15,863,789.92 ขาดทุนจากการตัดจำหน่ายสินทรัพย์ (หมายเหตุ 12) - 8,175,655.23 ดอกเบี้ยจ่าย 9,215,045.39 14,251,700.47 ค่าตอบแทนกรรมการ 150,300.00 135,000.00 รวมค่าใช้จ่าย 179,066,507.83 220,196,973.16 ขาดทุนสุทธิ (14,096,176.64) (47,627,846.86) ขาดทุนต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (หมายเหตุ 3) (1.17) (3.97) ดูหมายเหตุประกอบงบการเงิน บริษัท เชียงใหม่ธุรกิจการแพทย์ จำกัด (มหาชน) งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2543 และ 2542 2543 2542 บาท บาท ทุนเรือนหุ้น หุ้นสามัญ ยอดต้นปี 120,000,000.00 120,000,000.00 เพิ่มระหว่างปี - - ลดระหว่างปี - - ยอดปลายปี 120,000,000.00 120,000,000.00 ส่วนเกินทุน ส่วนเกินมูลค่าหุ้น ยอดต้นปี 130,000,000.00 130,000,000.00 เพิ่มระหว่างปี - - ลดระหว่างปี - - ยอดปลายปี 130,000,000.00 130,000,000.00 กำไรสะสมจัดสรรแล้ว สำรองตามกฎหมาย ยอดต้นปี 7,591,000.00 7,591,000.00 เพิ่มระหว่างปี - - ลดระหว่างปี - - ยอดปลายปี 7,591,000.00 7,591,000.00 อื่นๆ ยอดต้นปี 2,000,000.00 2,000,000.00 เพิ่มระหว่างปี - - ลดระหว่างปี - - ยอดปลายปี 2,000,000.00 2,000,000.00 ดูหมายเหตุประกอบงบการเงิน 2543 2542 บาท บาท ขาดทุนสะสม ยอดต้นปีก่อนปรับปรุง (66,559,620.85) (12,583,218.25) ปรับปรุง ผลสะสมจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี (หมายเหตุ 4) - (6,348,555.74) ยอดต้นปีหลังปรับปรุง (66,559,620.85) (18,931,773.99) เพิ่มขึ้นระหว่างปี - ขาดทุนสุทธิ (14,096,176.64) (47,627,846.86) ลดระหว่างปี - - ยอดปลายปี (80,655,797.49) (66,559,620.85) รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 178,935,202.51 193,031,379.15 ดูหมายเหตุประกอบงบการเงิน บริษัท เชียงใหม่ธุรกิจการแพทย์ จำกัด (มหาชน) งบขาดทุนสะสม สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2543 และ 2542 2543 2542 บาท บาท ขาดทุนสะสม: ยอดยกมาต้นปีก่อนปรับปรุง (66,559,620.85) (12,583,218.25) ปรับปรุง ผลสะสมจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี (หมายเหตุ 4) - (6,348,555.74) ยอดยกมาต้นปีหลังปรับปรุง (66,559,620.85) (18,931,773.99) ขาดทุนสุทธิสำหรับปี (14,096,176.64) (47,627,846.86) รวมขาดทุนสะสม (80,655,797.49) (66,559,620.85) กำไรสะสมส่วนที่ได้จัดสรรแล้ว: สำรองตามกฎหมาย 7,591,000.00 7,591,000.00 อื่น ๆ 2,000,000.00 2,000,000.00 รวมกำไรสะสมส่วนที่ได้จัดสรรแล้ว 9,591,000.00 9,591,000.00 รวมขาดทุนสะสม (71,064,797.49) (56,968,620.85) ดูหมายเหตุประกอบงบการเงิน บริษัท เชียงใหม่ธุรกิจการแพทย์ จำกัด (มหาชน) งบกระแสเงินสด สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2543 และ 2542 2543 2542 บาท บาท กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ขาดทุนสุทธิ (14,096,176.64) (47,627,846.86) รายการปรับกระทบขาดทุนสุทธิเป็นเงินสดรับ (จ่าย) จากกิจกรรมดำเนินงาน ค่าเสื่อมราคา 26,045,453.85 26,507,201.84 หนี้สงสัยจะสูญ 480,000.00 1,577,651.00 ขาดทุนจากการตัดจำหน่ายสินทรัพย์ 99.89 8,175,655.23 ขาดทุนจากการด้อยค่าของเงินลงทุน - 15,863,789.92 (กำไร)ขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์ (67,918.32) 809,091.71 การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน เงินลงทุนระยะสั้นเพิ่มขึ้น (157,566.93) (164,718.19) ลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้น (856,804.07) (380,919.00) เวชภัณฑ์คงเหลือลดลง(เพิ่มขึ้น) 589,138.90 (284,027.52) วัสดุสิ้นเปลืองลดลง 368,853.73 753,769.06 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น(เพิ่มขึ้น)ลดลง (222,379.59) 148,469.15 สินทรัพย์อื่นลดลง 14,000.00 230,674.60 เจ้าหนี้การค้าลดลง (2,313,749.30) (218,941.32) เจ้าหนี้ค่าอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์เพิ่มขึ้น 4,274,100.39 906,125.70 ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายลดลง (2,043,721.85) (258,445.20) เจ้าหนี้อื่นเพิ่มขึ้นลดลง (179,904.36) (75,477.98) หนี้สินหมุนเวียนอื่นเพิ่มขึ้น(ลดลง) 1,194,751.54 (1,163,081.17) เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน 13,028,177.24 4,798,970.97 ดูหมายเหตุประกอบงบการเงิน 2543 2542 บาท บาท กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน เงินให้กู้ยืมระยะสั้นบริษัทในเครือลดลง - 32,500,000.00 เงินสดจ่ายในการซื้อที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (13,284,067.77) (6,674,295.91) เงินสดรับจากการขายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 284,478.69 682,400.00 เงินสดสุทธิ(ใช้ไปใน)ได้จากกิจกรรมลงทุน (12,999,589.08) 26,508,104.09 กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น(ลดลง) 9,759,074.00 (307,307.78) เจ้าหนี้เช่าซื้อลดลง - (163,104.00) เงินกู้ยืมระยะยาวลดลง (11,244,541.97) (41,486,105.47) เงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงิน (1,485,467.97) (41,956,517.25) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดลดลง (1,456,879.81) (10,649,442.19) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นปี (หมายเหตุ 3 และ 5) 3,252,615.19 13,902,057.38 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดปลายปี (หมายเหตุ 3 และ 5) 1,795,735.38 3,252,615.19 ข้อมูลกระแสเงินสดเปิดเผยเพิ่มเติม เงินสดจ่ายในระหว่างปี ดอกเบี้ยจ่าย 9,219,880.54 15,405,169.63 ภาษีเงินได้ 369,140.34 1,075,587.90 ดูหมายเหตุประกอบงบการเงิน บริษัท เชียงใหม่ธุรกิจการแพทย์ จำกัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงิน 31 ธันวาคม 2543 และ 2542 หมายเหตุ 1 - สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและเกณฑ์ในการนำเสนองบการเงิน การดำเนินธุรกิจของบริษัท เชียงใหม่ธุรกิจการแพทย์ จำกัด (มหาชน) ("บริษัท") ที่จะดำเนินต่อไปข้างหน้าอาจยังคง ได้รับผลกระทบจากภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคโดยรวม งบการเงินของบริษัทได้ทำ ขึ้นโดยสะท้อนถึงผลกระทบจากสภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งประเมินโดยฝ่ายบริหารของบริษัท อย่างไรก็ ตาม ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจริงอาจต่างจากที่ได้ประมาณไว้ งบการเงินนี้ได้จัดทำขึ้นตามเกณฑ์ที่ว่าบริษัทจะดำเนินต่อเนื่องต่อไป ซึ่งถือตามข้อสมมติฐานที่ว่าบริษัทจะประกอบ ธุรกิจต่อไป ความสมบูรณ์ของข้อสมมติฐานนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของบริษัทในการจ่ายเงินตามข้อผูกพันและความ สำเร็จในการดำเนินงานในอนาคต หากบริษัทมิได้ประกอบธุรกิจต่อไปแล้วมูลค่าสินทรัพย์ตามบัญชีจะต้องปรับปรุงให้ แสดงในราคาที่อาจจำหน่ายได้ บันทึกหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และจัดประเภทสินทรัพย์และหนี้สินใหม่ งบการเงินของบริษัท ได้ทำขึ้นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติ บริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 และตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปที่ใช้ในประเทศไทย งบการเงินของบริษัทได้จัดทำขึ้นเป็นภาษาไทย ตามระเบียบข้อบังคับของกฎหมายไทย ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อ ความสะดวกของผู้อ่านงบการเงิน หมายเหตุ 2 - ข้อมูลทั่วไป บริษัท เชียงใหม่ธุรกิจการแพทย์ จำกัด (มหาชน) จัดตั้งขึ้นเป็นบริษัทมหาชนตามกฎหมายไทย โดยมีบริษัท โรงพยาบาลธนบุรี จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ บริษัทมีสถานประกอบการ ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยให้บริการ รักษาพยาบาลในนาม "โรงพยาบาลลานนา" หมายเหตุ 3 - สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ เกณฑ์การวัดค่าในการจัดทำงบการเงิน นอกจากที่เปิดเผยไว้ในหัวข้ออื่นๆ ในสรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ และหมายเหตุประกอบงบการเงินอื่นๆ เกณฑ์ใน การจัดทำงบการเงินใช้ราคาทุนเดิม การรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย บริษัทบันทึกรายได้และค่าใช้จ่าย ตามเกณฑ์สิทธิ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ได้แก่ เงินสดในมือ เงินฝากธนาคารกระแสรายวัน ออมทรัพย์ เงินฝากประจำและ ตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีกำหนดเวลาไถ่ถอนไม่เกิน 3 เดือน ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตั้งตามจำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้จากลูกหนี้ที่มีอยู่โดยพิจารณาจากประสบการณ์การ เรียกเก็บหนี้ในอดีตและการวิเคราะห์ฐานะปัจจุบันของลูกหนี้แต่ละราย เวชภัณฑ์คงเหลือและวัสดุสิ้นเปลืองคงเหลือ เวชภัณฑ์คงเหลือและวัสดุสิ้นเปลืองคงเหลือ แสดงในราคาทุนตามวิธีจ่ายของที่รับเข้ามาก่อนออกไปก่อน หรือมูลค่า สุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า เงินลงทุน เงินลงทุนระยะยาวที่เป็นเงินลงทุนในตราสารทุนที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาด ซึ่งบริษัทถือเป็น เงินลงทุนทั่วไป แสดงในราคาสุทธิจากค่าเผื่อการด้อยค่า ขาดทุนจากการด้อยค่าเงินลงทุนแสดงรวมในงบกำไรขาดทุน เงินลงทุนระยะยาวที่เป็นตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด แสดงในราคาทุน ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ แสดงในราคาทุนสุทธิจากค่าเสื่อมราคาสะสม ค่าเสื่อมราคาคำนวณโดยวิธีเส้นตรงตาม เกณฑ์อายุการใช้สินทรัพย์โดยประมาณดังต่อไปนี้ ประเภทของสินทรัพย์ ปี ส่วนปรับปรุงที่ดิน 10 อาคาร 20-50 ส่วนปรับปรุงอาคาร 10 อุปกรณ์การแพทย์ 5-25 เครื่องตกแต่งและติดตั้งและอุปกรณ์ 5-25 ยานพาหนะ 5-7 บัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศบันทึกเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดขึ้นของรายการ หนี้สินที่เป็น เงินตราต่างประเทศ ณ วันสิ้นปี แปลงค่าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนั้น กำไรและขาดทุนจากการแปลง ค่าดังกล่าวได้แสดงรวมในงบกำไรขาดทุน การประมาณการ ในการจัดทำงบการเงินตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป กำหนดให้มีการจัดทำประมาณการและข้อสมมติ ฐานซึ่ง จะมีผลกระทบต่อการแสดงจำนวนรายได้ ค่าใช้จ่าย สินทรัพย์และหนี้สิน รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสิน ทรัพย์และหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น ณ วันที่ในงบการเงินที่เสนอรายงาน ผลที่เกิดขึ้นจริงอาจมีความแตกต่างไปจาก ประมาณการเหล่านั้นได้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับแต่ละปีบันทึกบัญชีตามเกณฑ์คงค้าง โดยคำนวณจากกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีประจำปี ขาดทุนต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน ขาดทุนต่อหุ้นขั้นพื้นฐานคำนวณโดยการหารขาดทุนสุทธิด้วยจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้ว ณ วันสิ้นปี หมายเหตุ 4 - การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี ในปี 2542 บริษัทได้เปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชีจากที่เคยบันทึกเป็น สินทรัพย์อื่นมา บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อให้สอดคล้องกับการตีความตามมาตรฐานการบัญชีเรื่องที่ 4 ที่ กำหนดโดยสมาคมนักบัญชี และผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ในการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีดังกล่าว บริษัทต้องปรับปรุงงบการ เงินปีก่อนย้อนหลังที่นำมาแสดง เปรียบเทียบเสมือนว่าบริษัทได้บันทึกค่าใช้จ่ายตามนโยบายการบัญชีใหม่มาโดย ตลอด ผลสะสมจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่ต้องนำมาปรับปรุงกับกำไรขาดทุน สะสมต้นปี 2542 มีจำนวนทั้งสิ้น 6,348,555.74 บาท หมายเหตุ 5 - เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่ 31 ธันวาคม ประกอบด้วย 2543 2542 บาท บาท เงินสดและเงินฝากธนาคาร 1,795,735.38 3,252,615.19 เงินลงทุนระยะสั้น - เงินฝากประจำ 1,638,588.72 1,481,021.79 หัก เงินฝากประจำที่มีกำหนดเวลาไถ่ถอนเกิน 3 เดือนและ ที่มีภาระผูกพัน (1,638,588.72) (1,481,021.79) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด - สุทธิ 1,795,735.38 3,252,615.19 หมายเหตุ 6 - ลูกหนี้การค้า ลูกหนี้การค้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม ประกอบด้วย 2543 2542 บาท บาท ลูกหนี้การค้า 9,164,772.22 8,307,968.15 หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (3,227,881.00) (2,747,881.00) ลูกหนี้การค้า - สุทธิ 5,936,891.22 5,560,087.15 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 และ 2542 บริษัทมีลูกหนี้การค้าที่มีปัญหาในการชำระหนี้จำนวน 343 ราย และ 264 ราย ตามลำดับ จำแนกตามอายุหนี้ที่ค้างชำระได้ดังต่อไปนี้ (หน่วย: ล้านบาท) 2543 2542 ไม่เกิน 2 ปี 0.35 0.33 มากกว่า 2 ปี ถึง 3 ปี 0.17 0.22 มากกว่า 3 ปี ถึง 4 ปี 0.21 0.96 มากกว่า 4 ปี 2.28 1.32 รวม 3.01 2.83 หมายเหตุ 7 - รายการบัญชีกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทมีรายการบัญชีบางส่วนกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันรายการดังกล่าวเป็นไปตามเงื่อนไขและเกณฑ์ที่ตกลงร่วมกันซึ่ง เป็นไปตามปกติธุรกิจ โดยบริษัทที่เกี่ยวข้องกันประกอบด้วย - บริษัท โรงพยาบาลธนบุรี จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทร้อยละ 51.58 ของทุนจดทะเบียน และมีผู้ บริหารร่วมกัน - บริษัท วิทยาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมของบริษัท โรงพยาบาลธนบุรี จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้น ของบริษัทร้อยละ 0.61 ของทุนจดทะเบียน รายการบัญชีที่มีสาระสำคัญระหว่างบริษัทกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม มีดังนี้ (หน่วย: ล้านบาท) 2543 2542 ดอกเบี้ยรับ บริษัท โรงพยาบาลธนบุรี จำกัด (มหาชน) - 2.91 หมายเหตุ 8 - เงินลงทุนบริษัทในเครือและบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน - สุทธิ ณ วันที่ 31 ธันวาคม เงินลงทุนบริษัทในเครือและบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ได้แก่ เงินลงทุนในตราสารทุนที่ไม่อยู่ในความ ต้องการของตลาด ซึ่งบริษัทถือเป็นเงินลงทุนทั่วไป ดังนี้ สัญชาติ ประเภทธุรกิจ มูลค่าเงินลงทุน สัดส่วน (หน่วย: ล้านบาท) (ร้อยละ) 2543 2542 2543 2542 บริษัท ทาร์ฟอส 1 จำกัด บริติชเวอร์จินไอส์แลนด์ โฮล์ดิ้ง 15.86 15.86 80.00 80.00 บริษัท โรงพยาบาลภัทร จำกัด ไทย โรงพยาบาล 10.00 10.00 6.67 6.67 บริษัท พิษณุโลกอินเตอร์เวชการ จำกัด ไทย โรงพยาบาล 15.00 15.00 10.00 10.00 รวม 40.86 40.86 หัก ค่าเผื่อการด้อยค่า (15.86) (15.86) เงินลงทุนบริษัทในเครือและบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน - สุทธิ บริษัทมิได้บันทึกรายการเงินลงทุนในบริษัท ทาร์ฟอส 1 จำกัด ตามวิธีส่วนได้เสีย และมิได้จัดทำงบการเงินรวมสำหรับ งวดปัจจุบัน เนื่องจากบริษัทดังกล่าวมีข้อมูลไม่เพียงพอและยังไม่ได้ดำเนินกิจการ และในปี 2542 บริษัทมีนโยบายที่ จะขายเงินลงทุนในบริษัท ทาร์ฟอส 1 จำกัด อย่างไรก็ตามบริษัทยังไม่สามารถขายเงินลงทุนดังกล่าวได้ ทั้งนี้เนื่องจาก วิกฤตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งไม่มีนโยบายที่จะลงทุนในเงินลงทุนดังกล่าวต่อ ดังนั้นบริษัทคาดว่าจะไม่ มีกระแสเงินสดรับในอนาคตจากเงินลงทุนดังกล่าวจึงพิจารณาตั้งสำรองค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุนดังกล่าวทั้ง จำนวน 15.86 ล้านบาท โดยขาดทุนจากการด้อยค่าเงินลงทุนดังกล่าวแสดงรวมในงบกำไรขาดทุนสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2542 ต่อมาในปี 2543 บริษัทอยู่ระหว่างดำเนินการให้มีการชำระบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัท ทาร์ฟอส 1 จำกัด ซึ่งในขณะเดียวกันก็ได้ศึกษาถึงความเป็นไปได้ร่วมกับบริษัทในเครือแห่งหนึ่งในแนวทางอื่นๆ เกี่ยว กับเงินลงทุนดังกล่าว หมายเหตุ 9 - บัตรเงินฝาก บัตรเงินฝาก ซึ่งถือเป็นตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด ได้แก่ บัตรเงินฝากของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เกิด จากการเปลี่ยนตั๋วเงินรับของสถาบันการเงินที่ถูกธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศให้ระงับการดำเนินกิจการ โดยครบ กำหนดไถ่ถอนในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2545 และกำหนดรับดอกเบี้ยทุกเดือน ที่อัตราดอกเบี้ยลอยตัว หมายเหตุ 10 - ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สุทธิ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 ประกอบด้วย (หน่วย: ล้านบาท) การเปลี่ยนแปลงราคาทุน การเปลี่ยนแปลงค่าเสื่อมราคาสะสม ราคาตามบัญชี ยอดต้นปี เพิ่มขึ้น(โอนออก) จำหน่าย ยอดปลายปี ยอดต้นปี ค่าเสื่อมราคา จำหน่าย ยอดปลายปี ยอดต้นปี ยอดปลายปี ที่ดิน 32.77 - - 32.77 - - - - 32.77 32.77 ส่วนปรับปรุงที่ดิน 7.79 - - 7.79 3.26 0.68 - 3.94 4.53 3.85 อาคาร 109.23 - - 109.23 21.95 2.58 - 24.53 87.28 84.70 ส่วนปรับปรุงอาคาร 31.66 - - 31.66 8.87 3.17 - 12.04 22.79 19.62 อุปกรณ์การแพทย์ 90.06 9.45 (23.80) 75.71 56.26 6.17 (23.80) 38.63 33.80 37.08 เครื่องตกแต่งและติดตั้งและอุปกรณ์ 125.93 5.56 (0.11) 131.38 43.50 12.80 (0.06) 56.24 82.43 75.14 ยานพาหนะ 5.82 - (0.50) 5.32 3.28 0.65 (0.33) 3.60 2.54 1.72 อาคารระหว่างก่อสร้าง 4.13 - - 4.13 - - - - 4.13 4.13 งานระหว่างปรับปรุงและต่อเติม 1.75 (1.72) - 0.03 - - - - 1.75 0.03 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 409.14 13.29 (24.41) 398.02 137.12 26.05 (24.19) 138.98 272.02 259.04 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2543 และ 2542 เป็นจำนวน 26.05 ล้านบาท และ จำนวน 26.51 ล้านบาท ตามลำดับ ขาดทุนจากการตัดจำหน่ายสินทรัพย์สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2542 เป็นจำนวน 8.18 ล้านบาท ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างส่วนใหญ่ของบริษัทได้จำนองเป็นหลักประกันสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนแห่งหนึ่ง ในปี 2543 และ 2542 ซึ่งมีวงเงินจำนองทั้งสองปีจำนวนเงิน 276 ล้านบาท และ 254 ล้านบาท ตามลำดับ หมายเหตุ 11 - เงินกู้ยืมระยะยาว เงินกู้ยืมระยะยาว ณ วันที่ 31 ธันวาคม ประกอบด้วย 2543 2542 บาท บาท เงินกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง ก. วงเงินกู้ยืม 20 ล้านบาท 15,554,763.23 19,198,080.02 ข. วงเงินกู้ยืม 22 ล้านบาท 10,678,435.96 13,279,661.14 เงินกู้ยืมจากบริษัทเงินทุนแห่งหนึ่ง ก. วงเงินกู้ยืม 100 ล้านบาท 55,000,000.00 60,000,000.00 ข. วงเงินกู้ยืม 104 ล้านบาท 14,959,091.75 14,959,091.75 รวม 96,192,290.94 107,436,832.91 หัก ส่วนของเงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระ ภายในหนึ่งปีแสดงไว้ภายใต้หนี้สินหมุนเวียน (42,010,934.79) (13,488,876.71) เงินกู้ยืมระยะยาว สุทธิ 54,181,356.15 93,947,956.20 เงินกู้ยืมจากธนาคารมีกำหนดชำระคืนดังนี้ ก เงินกู้ยืมวงเงิน 20 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย MLR ชำระคืนทุกงวด 1 เดือนพร้อมดอกเบี้ยงวดละ 420,000 บาท จำนวน 60 งวด ตั้งแต่ตุลาคม 2542 ถึง กันยายน 2547 ข เงินกู้ยืมวงเงิน 22 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย MLR ชำระคืนทุกงวด 1 เดือนพร้อมดอกเบี้ยงวดละ 460,000 บาท จำนวน 60 งวด ตั้งแต่เมษายน 2540 ถึง มีนาคม 2545 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2543 บริษัทได้ตกลงกับธนาคารในการเปลี่ยนเงื่อนไขการชำระเงินกู้วงเงิน 22 ล้านบาท ใหม่เป็น ชำระคืนทุกงวด 1 เดือนพร้อมดอกเบี้ยงวดละ 297,000 บาท จำนวน 62 งวด ตั้งแต่มกราคม 2543 ถึง มีนาคม 2548 เงินกู้ยืมจากบริษัทเงินทุนมีกำหนดชำระคืนดังนี้ ก เงินกู้ยืมวงเงิน 100 ล้านบาท ชำระคืนทุกงวด 6 เดือน งวดแรกถึงงวดที่สี่ 15 ล้านบาท และงวดถัดไป งวดละ 20 ล้านบาท ตั้งแต่กันยายน 2542 ถึง มีนาคม 2545 อัตราดอกเบี้ย 11.75% ชำระทุก งวด 3 เดือน ในเดือน กันยายน 2542 บริษัทได้ขอชำระคืนเงินกู้ยืมบางส่วนก่อนกำหนดเป็นจำนวน 25 ล้านบาท และได้รับการปรับ ลดอัตราดอกเบี้ยเป็น 8.5% เป็นระยะเวลา 1 ปี และในปี 2543 ได้รับการขยายระยะเวลาต่อออกไปอีก 1 ปี ข เงินกู้ยืมวงเงิน 4 ล้านเหรียญสหรัฐ (ไม่เกิน 104 ล้านบาท) ชำระคืนทุกงวด 6 เดือน พร้อมดอกเบี้ยในอัตรา LIBOR+4.75% งวดละ 50,000 เหรียญสหรัฐถึง 650,000 เหรียญสหรัฐ ตั้งแต่กรกฏาคม 2542 ถึง มกราคม 2548 ในระหว่างปี 2542 บริษัทได้ทำข้อตกลงกับบริษัทเงินทุน เปลี่ยนเงินกู้ยืมดังกล่าวเป็นเงินบาทจำนวน 104 ล้านบาท โดยส่วนที่เบิกไปใช้แล้วจำนวน 0.855 ล้านเหรียญสหรัฐ เปลี่ยนเป็นเงินบาทจำนวน 31.26 ล้านบาท สำหรับส่วนที่ยังไม่ได้เบิกจำนวน 3.145 ล้านเหรียญสหรัฐ เปลี่ยนเป็นเงินบาทจำนวน 72.74 ล้านบาท โดย กำหนดชำระคืน งวดละ 1.30 ล้านบาทถึง 16.90 ล้านบาท ตั้งแต่กรกฏาคม 2542 ถึง มกราคม 2548 อัตรา ดอกเบี้ย MLR +1.25% ชำระทุกงวด 3 เดือน นอกจากนี้ในเดือนมีนาคม 2542 และเดือนพฤศจิกายน 2542 บริษัทได้ชำระคืนเงินกู้ยืมบางส่วนก่อนกำหนดเป็นจำนวน 15 ล้านบาท ต่อมาในเดือนมกราคม 2543 บริษัทได้ขอยกเลิกเงินกู้ในส่วนที่ยังไม่ได้เบิกใช้จำนวน 72.74 ล้าน บาท กับบริษัท เงินทุนดังกล่าว ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของบริษัทได้ใช้เป็นหลักประกันการกู้ยืมดังกล่าว หมายเหตุ 12 - ขาดทุนจากการตัดจำหน่ายสินทรัพย์ ในปี 2542 บริษัทได้ตัดจำหน่ายสินทรัพย์ที่ชำรุด เสียหาย เสื่อมสภาพ และไม่ได้ใช้งานออกจากบัญชีที่ดิน อาคารและ อุปกรณ์ ซึ่งมีผลขาดทุนจากการตัดหน่ายจำนวน 8.18 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายแสดงในงบกำไรขาดทุน สำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2542 หมายเหตุ 13 - สินทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักประกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 และ 2542 เงินฝากประจำจำนวน 0.88 บาท และ 0.76 ล้านบาท ตามลำดับ และที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างของบริษัทได้ใช้เป็นหลักประกันการกู้ยืมและการออกหนังสือค้ำประกันจากธนาคารพาณิชย์และ สถาบันการเงินแห่งหนึ่ง หมายเหตุ 14 - ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพนักงาน ค่าใช้จ่ายและจำนวนพนักงานสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม มีดังนี้ (หน่วย: ล้านบาท) 2543 2542 แสดงรวมอยู่ในต้นทุนค่ารักษาพยาบาล 34.51 38.55 แสดงรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายบริหาร 20.63 20.09 รวม 55.14 58.64 จำนวนพนักงาน (คน) 410 450 หมายเหตุ 15 - ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 บริษัทมีภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น จากการขอให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกัน จำนวน 879,386.95 บาท เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2539 บริษัทได้ลงทุนในบริษัทในเครือแห่งหนึ่งในต่างประเทศเป็นจำนวน 2,000,000 เหรียญสหรัฐ บริษัทได้ชำระเงินลงทุนไปแล้วเป็นจำนวน 500,000 เหรียญสหรัฐและ คงค้างที่จะต้องชำระอีกเป็น จำนวน 1,500,000 เหรียญสหรัฐ โดยบริษัทไม่มีนโยบายที่จะลงทุนในบริษัทดังกล่าว ตั้งแต่ปี 2542 หมายเหตุ 16 - การเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน บริษัท เชียงใหม่ธุรกิจการแพทย์ จำกัด (มหาชน) ประกอบกิจการโรงพยาบาลเพียงประเภทเดียวจึง ไม่แสดงข้อมูลทาง การเงิน จำแนกตามส่วนงานไว้ในงบการเงิน หมายเหตุ 17 - การเปิดเผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน บริษัทไม่มีนโยบายที่จะประกอบธุรกรรมตราสารทางการเงินนอกงบดุลที่เป็นตราสารอนุพันธ์ เพื่อการเก็งกำไรหรือ การค้า นโยบายการบัญชี รายละเอียดของนโยบายการบัญชีที่สำคัญ วิธีการที่ใช้ซึ่งรวมถึงเกณฑ์ในการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับ สินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินแต่ละประเภทได้เปิดเผยไว้แล้วในหมายเหตุข้อ 3 ความเสี่ยงจากสินเชื่อ ความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อ คือ ความเสี่ยงที่ลูกค้าหรือคู่ค้า ไม่ปฏิบัติตามสัญญาทำให้บริษัทเกิดความสูญเสียทางการ เงินได้ บริษัทได้กำหนดนโยบายในการป้องกันความเสี่ยงนี้โดยการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินของคู่ค้า การกำหนด ระยะเวลาการเรียกเก็บหนี้ การเรียกเก็บเงินมัดจำบางส่วนหรือเรียกหลักทรัพย์ค้ำประกัน ความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อมีมูลค่าตามที่แสดงไว้ในด้านสินทรัพย์หลังจากหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญแล้วบางส่วน (ดู หมายเหตุ ข้อ 6) ความเสี่ยงทางด้านอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงทางด้านอัตราดอกเบี้ย เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในตลาดอันจะมีผลกระทบต่อรายได้ ดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยในปีปัจจุบันและในอนาคต ความเสี่ยงของอัตราดอกเบี้ยนี้เกิดขึ้นจากการจัด โครงสร้าง และลักษณะของรายการในสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินของอัตราดอกเบี้ยของสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงิน อัตราดอกเบี้ยของสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงิน สินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินที่สำคัญ จำแนกตามระยะเวลาที่จะมีการกำหนดอัตราใหม่ตามสัญญาหรือวันที่ครบ กำหนดแล้วแต่วันใดจะถึงก่อน นับจากวันที่ 31 ธันวาคม 2543 ดังนี้ (หน่วย ล้านบาท) ไม่มีภาระ อัตราดอกเบี้ย รายการ ภายใน 1 ปี 1 ปีขึ้นไป ดอกเบี้ย รวม ถัวเฉลี่ย สินทรัพย์ทางการเงิน เงินสดและเงินฝากธนาคาร 2.36 - 1.07 3.43 3.49% ลูกหนี้การค้า - สุทธิ - - 5.94 5.94 - เงินลงทุน 10.75 - 25.01 35.76 3.64% รวมสินทรัพย์ทางการเงิน 13.11 - 32.02 45.13 หนี้สินทางการเงิน เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงิน กู้ยืมจากสถาบันการเงิน 13.32 - - 13.32 7.42% เจ้าหนี้การค้า - - 9.82 9.82 - เจ้าหนี้ค่าอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ - - 9.39 9.39 - เงินกู้ยืมระยะยาวที่ใช้อัตราดอกเบี้ย แบบลอยตัว 41.19 - - 41.19 8.99% เงินกู้ยืมระยะยาวที่ใช้อัตราดอกเบี้ย แบบคงที่ 35.00 20.00 - 55.00 8.50% รวมหนี้สินทางการเงิน 89.51 20.00 19.21 128.72 ประมาณการมูลค่ายุติธรรมสำหรับตราสารทางการเงิน มูลค่ายุติธรรมของตราสารทางการเงินได้จัดทำโดยบริษัทใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในตลาด และวิธีการประเมินราคาที่เหมาะสม สำหรับแต่ละประเภทของตราสารทางการเงิน มูลค่าที่ปรากฏในงบการเงินและมูลค่ายุติธรรมของตราสารทางการเงินที่ สำคัญ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 มีดังต่อไปนี้ (หน่วย ล้านบาท) รายการ ยอดคงเหลือ มูลค่ายุติธรรม สินทรัพย์ทางการเงิน เงินสดและเงินฝากธนาคาร 3.43 3.43 ลูกหนี้การค้า - สุทธิ 5.94 5.94 เงินลงทุน 35.76 35.76 รวมสินทรัพย์ทางการเงิน 45.13 45.13 หนี้สินทางการเงิน เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน 13.32 13.32 เจ้าหนี้การค้า 9.82 9.82 เจ้าหนี้ค่าอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ 9.39 9.39 เงินกู้ยืมระยะยาวที่ใช้อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว 41.19 41.19 เงินกู้ยืมระยะยาวที่ใช้อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ 55.00 54.66 รวมหนี้สินทางการเงิน 128.72 128.38 วิธีการและข้อสมมุติฐานที่ใช้ในการประมาณมูลค่ายุติธรรมของตราสารทางการเงิน สรุปได้ดังนี้ เงินสดและเงินฝากธนาคาร ลูกหนี้ เงินลงทุน เจ้าหนี้ เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน แสดงมูลค่ายุติธรรมโดยประมาณตามงบดุล เงินกู้ยืมระยะยาว เงินกู้ยืมระยะยาวที่ใช้อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวแสดงมูลค่ายุติธรรมโดยประมาณตามงบดุล เงินกู้ยืมระยะยาวที่ ใช้อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ประมาณโดยใช้วิธีการหาส่วนลดกระแสเงินสด โดยใช้อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันที่เทียบเคียง กับเงินกู้ยืมที่ใช้อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว หมายเหตุ 18 - การจัดประเภทรายการใหม่ รายการบางรายการในงบการเงินสำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2542 ได้จัดประเภทใหม่ให้สอดคล้องกับการแสดง รายการในงบการเงินสำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2543